ถ้าเลือกได้ ถ้าได้เลือก ก็ควรเลือก

จากที่ได้พะปะกับบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดนับร้อยแห่งมาร่วม 10 ปี (Edit : ถึง ณ ปีพ.ศ. 2564 ก็ร่วม 20 ปีแล้ว) สิ่งหนึ่งที่จับได้กับความรู้สึกของคนทำงานห้องสมุดคือ ส่วนใหญ่มองว่า งานห้องสมุดเป็นงานที่ยุ่งยาก น่าเบื่อหน่าย ทำไปก็ไม่ค่อยมีใครเห็นคุณค่า เท่านั้นยังไม่พอกลับถูกมองว่า ทำงานสบาย วันๆ ไม่ต้องทำอะไร บางห้องสมุดไม่เฉพาะงานที่จะต้องดูแลห้องสมุด ยังต้องรับงานอื่น เช่นงานสอน งานเลขาฯ เป็นต้น บางห้องสมุดผู้ดูแล ไม่ได้จบสาขาบรรณารักษ์ ความรู้คอมพิวเตอร์มีน้อยมาก แต่ถูกมอบหมายให้มาทำงาน แม้แรกๆ จะกระตือรือร้นหรือไม่ก็ตาม ในท้ายสุดกลับอยู่ไปแบบไปวันๆ คิดแต่จะขอย้าย หรือออกไปทำอย่างอื่น

เมื่อนึกได้ว่า น่าจะหาโปรแกรมห้องสมุดมาช่วยงาน หรือเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมที่ดีกว่า บรรณารักษ์จำนวนไม่น้อยกลับ ต้องพบปัญหาตามมาคือ 1. ไม่เลือกโปรแกรม เพื่อนฝูงบอกว่าดีก็ว่าดีด้วย 2. เลือกไม่ได้เพราะงบน้อย หรือผู้ใหญ่ตัดสินให้ว่า เอาที่ราคาต่ำไว้ก่อน เพราะคิดว่า โปรแกรมไหนก็เหมือนกัน 3. ถูกผู้ใหญ่บังคับให้หา หรือใช้โปรแกรม

ที่เรียกว่าฟรีหรือโปรแกรมเสียเงินที่มี”เงินทอน”ให้ผู้ใหญ่ เป็นต้น

ในกรณีข้างต้น คงช่วยไม่ได้ งานที่น่าเบื่ออยู่แล้ว บวกกับปัญหาความไม่สบอารมณ์กับโปรแกรมที่เพิ่มเข้ามา อาจทำให้หลายคนท้อแท้มากขึ้น เชื่อไหมครับว่า บางที่กลับไปทำด้วยมือ แบบเดิม บางที่ทนใช้ไปเพื่อไม่ให้ถูกต่อว่า ว่าซื้อมาให้แล้วทำไมไม่ใช้

ผมจึงต้องบอกว่า ห้องสมุดใด ถ้าเลือกที่จะใช้โปรแกรมไหนได้ ก็ควรเลือก เพราะถือว่าโชคดีกว่า ห้องสมุดจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีโอกาสได้เลือกครับ

ประสบการณ์ที่ผ่านมา ที่พบมากที่สุดคือการ lock spec เมื่อเวลามีการประกวดราคา ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทั้งเป็นแบบมีนอกมีในและไม่มี นั่นคือเหตุผลที่ระยะหลัง ทางบริษัทไม่มุ่งเข้างานประกวดราคา คนไม่มีประสบการณ์อาจคิดว่า งานประมูลคือสุดยอดของความยุติธรรม เพราะทุกคนมีโอกาสแข่งขัน ห้องสมุดจะได้โปรแกรมที่ดีในราคาถูก แต่ในความเป็นจริง ดูจะยุติธรรม สำหรับผู้เข้าร่วม แต่กลับไม่ยุติธรรมสำหรับห้องสมุดเอง เพราะ จะไม่มีโอกาสได้เลือกเลยว่า อะไรที่ดีที่เหมาะ เพราะโปรแกรมไม่ว่าคุณภาพจะเป็นอย่างไรเลวร้ายแค่ไหน หากทำตามคุณลักษณะที่กำหนดได้ ก็ประมูลได้ (มีบ้างทำไม่ได้ แต่เข้าประมูล เรียกว่าไปลุ้นเอาตอนตรวจรับ) ตัวคุณลักษณะนี่ จะไปกำหนดให้ละเอียดมากก็ไม่ได้ เฉพาะเจาะจงสักหน่อยก็ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นถูกมองว่า lock spec จึงต้องเขียนแบบกลางๆ กลายเป็นช่องให้โปรแกรมที่คุณภาพไม่อะไรเท่าไหร่ บริการหลังการขายก็ไม่ดี เข้าไปเสนอราคาต่ำๆ ได้และได้งานไป

ทั้งหมดที่่กล่าวมา ก็เพียงเพื่อจะอธิบายถึงแนวคิดของบริษัทในการพัฒนาโปรแกรม คือ 1. ต้องไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ไม่เพิ่มภาระ ในทางตรงกันข้าม เราพยายามสร้างโปรแกรม ที่วางตัวเป็นผู้ช่วยเพื่อช่วยทำงาน ด้วยเหตุนี้ จึงตั้งชื่อโปรแกรมว่า Digital Librarian ซึ่งหมายถึง บรรณารักษ์ที่เป็น Digital

และ 2. ที่สำคัญ ต้องยอมรับว่า ไม่ว่า โปรแกรมจะดีเลิศขนาดไหน ก็ยังมีปัญหา ทั้งจากปัจจัยภายในคือตัวโปรแกรมเอง ที่เรียกว่า Bug กับปัญหาภายนอก เช่นเครื่องเสีย ติดไวรัส มีมือ(ไม่)ดีมาลบไฟล์ หรือถอนโปรแกรมทิ้ง ฯลฯ ที่ทำให้ต้องพึ่งพาการให้บริการหลังการขาย (โชคดีที่ Bug ของโปรแกรมในช่วงหลังแทบจะไม่พบเลย ไม่เหมือนโปรแกรมออกใหม่ที่ยังต้องผจญกับปัญหานี้) บรรณารักษ์ที่ไม่มีความรู้เรื่องไอที ทั้งเรื่องเครื่องเครื่องโปรแกรมต่างๆ จะทำอะไรก็กลัวผิด กลัวพลาด เป็นบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ที่พบ ส่วนที่พอจะรู้เรื่องไอที ก็ไม่อยากยุ่งยากไม่อยากทำเอง ทำให้กว่า 80% ต้องมองหาบริการหลังการขายที่ดี เพื่อช่วยขจัดความยุ่งยากเหล่านี้

นี่คือที่มา ที่เราแนะนำในวิธีการเลือกซื้อโปรแกรมว่า ต้องดูการสาธิตการทำงานของโปรแกรมในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อหาตัวเลือกที่ดีที่สุด ที่จะมาช่วยงาน ไม่ใช่สร้างภาระงาน และต้องดูบริการหลังการขาย ….