เมื่อพบปัญหา
ปัญหาในการใช้งาน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ ทั้งจากโปรแกรมเอง ปัญหาจากไวรัส เครื่องเสีย ฯลฯ
หากพบปัญหา ลองดูที่คำถามด้านล่างนี้ และที่เมนู Webboard ว่ามีตรงกับที่พบอยู่หรือไม่
หากไม่พบ ไม่เข้าใจ ไม่แน่ใจ หรือต้องการความช่วยเหลือ ติดต่อโดยตรงที่
HOTLINE: 085 216 9695 หรือ EMAIL: DSSCOTH@YAHOO.COM หรือ LINE ID: DSSCOTH
คำถามการใช้งานและวิธีแก้ไขปัญหา
จะลงทะเบียนวัสดุสารนิเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่หนังสือได้อย่างไร
ลงที่เดียวกับหนังสือ คือที่เมนู => หนังสือและอื่นๆ และระบุประเภทที่ ประเภทวัสดุสารนิเทศ กับประเภทการให้ยืม เช่นจะลงทะเบียนวิดิโอ ก็ให้เลือกประเภทวัสดุเป็นวิดีโอ ประเภทการให้ยืม ก็ระบุเป็น โสตทัศนวัสดุ เป็นต้น ฯลฯ
สำหรับวารสาร และหนังสือพิมพ์จะแยกออกมาต่างหาก เพราะ
- ชื่อเรื่องเดียวกัน แต่มีจำนวนฉบับมากมาย
- วารสารแต่ละเล่มมีบทความที่ต้องทำดัชนีวารสาร อีกเป็นจำนวนมาก
มีระบบให้เลขทะเบียนอัตโนมัติหรือไม่
มี
ระบบสามารถพิมพ์บรรณานุกรมได้หรือไม่
ได้ และพิมพ์ในรูปแบบที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ส่วนที่เป็นข้อจำกัดจริงๆ ของทุกระบบสำหรับการพิมพ์ภาษาไทยคือ สระ และวรรณยุกต์ ซึ่งมีทั้งอยู่ในระหว่างบรรทัด อยู่บนและล่าง ทำให้ไม่สามารถนับบรรทัดเพื่อตัดคำได้ การพิมพ์บรรณานุกรมบรรทัดที่ 2 ให้ย่อหน้าจากบรรทัดแรก และการขีดเส้นใต้หรือพิมพ์ตัวหน้าที่ชื่อเรื่อง จึงไม่สามารถทำได้ แต่ระบบได้เตรียมแก้ปัญหา ด้วยการส่งออกข้อมูลไปยัง Microsoft word เพื่อให้ผู้ใช้จัดรูปแบบตามที่ต้องการ
กำหนดหนังสือจองได้หรือไม่ กำหนดอัตราค่าปรับหนังสือจองได้หรือไม่
ได้ การกำหนดหนังสือจองทำที่เมนู เครื่องมือ -> กำหนดหนังสือจอง การกำหนดอัตราค่าปรับ ทำที่เมนูข้อมูลระบบ กำหนดอัตราค่าปรับ ค่าปรับหนังสือจอง จะกำหนดเป็นรายชั่วโมงก็ได้
ในการยืมคืน ถ้าคืนช้า จะมีค่าปรับเกิดขึ้น ค่าปรับคำนวนจากอะไร
ได้จากค่าที่ตั้งไว้ โดยระบบจะตรวจสอบว่า ผู้ยืมเป็นใคร วัสดุที่ยืมเป็นอะไร คืนช้ากว่ากำหนดกี่วัน หรือกี่ชั่วโมง (กรณีหนังสือจอง)
สมาชิกยืมหนังสือไปแล้วหาย จะทำอย่างไร
กดปุ่มแจ้งชำรุด/หาย ที่หน้าจอยืมคืน เลือกว่าเป็นการชำรุดหรือหาย จากนั้นระบบจะดึงอัตราค่าปรับและราคาหนังสือมาคำนวนเป็นค่าปรับ
หนังสือที่แจ้งชำรุดและส่งซ่อม เมื่อส่งซ่อมเสร็จ จะปรับสถานะได้อย่างไร
การเปลี่ยนสถานะทำได้โดยการเลือกเมนูเครื่องมือ -> ปรับสถานะวัสดุ แล้วกรอกเลขทะเบียน หรือชื่อเรื่องเพื่อค้นหา จากนั้นคลิ๊กที่ช่องสถานะ แล้วเลือกเปลี่ยนสถานะจากรายการที่ปรากฎ
หากมีค่าปรับ แต่ไม่คิดค่าปรับ จะได้หรือไม่
ได้ โดยแก้ตัวเลขค่าปรับให้เป็น 0 แต่ชื่อผู้แก้ค่าปรับจะถูกบันทึกไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแก้ค่าปรับ
ถ้าสมาชิกมีค่าปรับ แต่มีเงินไม่พอจ่ายทั้งหมด สามารถทยอยจ่ายได้หรือไม่
ได้ หากสมาชิกท่านนั้น ยังคงค้างค่าปรับ ระบบจะแจ้งเมื่อสมาชิกมายืม หรือคืนหนังสือในครั้งต่อๆ ไป ส่วนรายละเอียดการค้างชำระ สามารถดูได้โดยกดปุ่มบริเวณด้านล่างหน้าจอยืมคืน ซึ่งจะแสดงยอดค่าปรับทั้งหมด ค่าปรับที่ชำระแล้ว และยอดที่ยังค้างชำระ
พิมพ์ใบเสร็จค่าปรับได้หรือไม่
ได้ แต่ต้องทำเป็นครั้งๆ ไป คือเมื่อจ่ายแล้วจะต้องพิมพ์ทันที เพราะระบบจะลบข้อมูลที่ไม่ใช้แล้ว ทิ้งทันทีที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง
หลักการของการทำรายการจอง ของ Digital Librarian คืออะไร
จองได้ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด เช่น 3 วันนับจากวันนี้ เพื่อป้องกันการจองข้ามเดือน ข้ามปี คนจองก่อนได้สิทธิ์ก่อน เมื่อมีผู้ต้องการยืมหนังสือที่มีการจอง จะให้แจ้งให้ทราบ และให้ตัดสินใจว่าจะให้ยืมหรือไม่ตามดุลยพินิจ ระบบจองจะลบคิวจองอัตโนมัติ รายละเอียดปลีกย่อยยังมีอีกพอสมควร แต่เป็นเรื่องที่ระบบจะจัดการให้โดยอัตโนมัติ
งานทะเบียนวารสารและดัชนีวารสาร มีขั้นตอนการใช้งานอย่างไร ยุ่งยากหรือไม่
ไม่ยุ่งยาก เพราะงานหลักที่ต้องทำบ่อยๆ ของระบบนี้คือ การทำรับวารสาร (ซึ่งทำได้ด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว) กับการทำดัชนีวารสาร ( ตามที่ต้องการ )
งานที่ต้องทำก่อนเริ่มระบบ ได้แก่ การเตรียมฉบับที่วารสาร ด้วยการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายเช่น กำหนดออก วันที่เริ่มได้รับฉบับแรก ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม งานของผู้ใช้มีเพียงการกำหนดค่าต่างๆ เหล่านี้ด้วยวิธีการง่ายๆ เท่านั้น ที่เหลือระบบจะจัดการให้จนจบ
ถ้าเป็นวารสารภาษาอังกฤษ วันเดือนปี จะเป็นภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะปีที่เป็น ค.ศ. จะทำอย่างไร
ระบบเตรียมรองรับไว้แล้ว ให้ลองกดปุ่มค้นหาดู
จะทำรายงานประเภท 10 อันดับหนังสือยอดนิยม 10 อันดับผู้ที่ยืมมากที่สุด ได้หรือไม่
ได้ และจะดูกี่อันดับก็ได้ นอกจากนี้อันดับสุดท้ายที่เท่ากันจะถูกแสดงทั้งหมด ไม่ถูกตัดทิ้ง ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
มีการพัฒนาระบบให้ใช้งานผ่านอินเตอร์เนทในรูปแบบ Web-base application หรือไม่
มี โดยเลือกพัฒนาเฉพาะระบบที่จำเป็นที่ต้องใช้ผ่านระบบอินเตอร์เนทจริงๆ ก่อน เช่น ระบบสืบค้น ระบบการตรวจสอบสถานะการยืม การจอง ค่าปรับ ฯลฯ
ส่วนระบบอื่น อาทิการลงทะเบียน ทางบริษัทอยู่ในระหว่างการประเมินความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากเห็นว่า ความต้องการและความจำเป็นยังมีน้อยมาก เพราะ
- การลงทะเบียนจะทำได้เฉพาะภายในห้องสมุดเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลคือรายละเอียดทรัพยากรจะอยู่ในห้องสมุด
- การทำงานผ่าน Web-base มีปัจจัย ที่จะทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้มากกว่าระบบ Client-Server เช่นการสื่อสารขัดข้อง
- การทำงานผ่านระบบอินเตอร์เนท ช้ากว่าระบบ Client-server โดยเฉพาะหากต้องมีการประมวลผลมากๆ
- การควบคุมหน้าจอ และการใช้งาน ทำได้ยากกว่า และมีข้อจำกัดมาก
- ในระบบ Client-Server สามารถเพิ่มเติมลูกเล่นเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานได้มากมาย
อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้ศึกษาข้อมูลและเตรียมการเพื่อสร้างโปรแกรมที่เป็น Web-base ไว้แล้วเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อสนองตอบความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้กลับ
ระบบจัดหาและงบประมาณคืออะไร
อธิบายอย่างคร่าวๆ คือระบบการบริหารบประมาณ เพื่อตรวจสอบและจัดการเงินงบประมาณ เมื่อมีการสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ เป็นระบบที่เชื่อมโยงไปยังระบบลงทะเบียน และผู้แทนจำหน่าย เช่นคำนวนส่วนลด พิมพ์ใบสั่งซื้อ และแยกงบประมาณเป็นการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ค่าสมาชิกวารสาร
ระบบกำหนดสิทธิการใช้งานมีประโยชน์อะไร
เพื่อป้องกันและจำกัดโอกาสการเกิดปัญหา โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานนั้นๆ เท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปจัดการข้อมูลได้ ต่างจากระบบบันทึกข้อมูลผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นระบบที่ต้องการหาคนผิด และทำให้เกิดความขัดแย้ง
ทำไมเพิ่มข้อมูลหนังสือไม่ได้? ลองเพิ่มสำเนาหนังสือก็ไม่ได้ เช่นกัน โดยฟ้องวันรหัสซ้ำ
น่าจะเกิดจากมีทรัพยากรบางเล่มที่ลงทะเบียนแล้วไม่ได้ใส่ประเภทวัสดุ ลองหาดูนะครับ หรือหากไม่ทราบจริงๆ ส่งข้อมูลที่ได้จากการแบ็กอัพมาให้ทางบริษัท เพื่อให้หาให้ก็ได้ครับ
ลงโปรแกรม apache ไม่ได้ ระหว่างที่ลงโปรแกรมติดตั้งก็หายไปเสียเฉยๆ ทำอย่างไรดีครับ
สาเหตุคงเกิดจากมีโปรแกรม apache ค้างอยู่ สภาพที่เคยพบคือ จะถอนก็ไม่ได้เพราะไม่มีตัวโปรแกรม apache ให้เห็น ครั้นจะลงใหม่ก็ไม่ได้การแก้ปัญหามี 2 วิธีครับ คือ
- ล้างเครื่องใหม่ (Format) ลงโปรแกรมไปตามปกติ หรือ
- กรณีที่ไม่ต้องการล้างเครื่องใหม่ ใช้ โปรแกรม web server ตัวอื่นแทน apache เช่น IIS ซึ่งเป็น Component มีอยู่ในแผ่น Setup ของ Microsoft windows server อยู่แล้ว วิธีการให้หาอ่านจากคู่มือ หรือคู่มือออนไลน์นะครับ พิมพ์ google search คำว่า setup php iis ครับส่วนตัว php ให้ดาวน์โหลดเวอร์ชั่น 4.4.2 และเลือกตัวที่เป็น installer นะครับ อย่าเลือก zip package โดยในระหว่างการติดตั้งโปรแกรม php ตัว installer จะมีให้เลือกว่าใช้กับ webserver ตัวไหน เวอร์ชั่นอะไร ให้เลือกตามนั้น เช่น IIS version 6 ตัว php ก็จะกำหนดค่าต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อให้ใช้งาน
เตือนวารสารหมดอายุ มีการเตือนเล่มที่ไม่ต้องการต่ออายุสมาชิกแล้ว จะทำอย่างไรไม่ให้เตือน
ที่หน้าลงทะเบียนวารสาร กรอกชื่อวารสารเล่มนั้น แล้วคลิ๊กเลือก ยกเลิกสมาชิก ครับ จะลงราชกิจจานุเบกษาที่หน้าลงทะเบียนหนังสือ หรือทะเบียนวารสารดี แนะนำให้ลงที่หน้าลงทะเบียนหนังสือครับ เพราะโดยพื้นฐาน ราชกิจจานุเบกษา จะคล้ายกับวารสาร คือ มีฉบับต่อๆ มา เหมือนฉบับปีของวารสาร นอกจากนี้ เนื้อหาในฉบับปลีก ยังแยกเป็นอิสระ คล้ายกับบทความในวารสาร การลงทะเบียนที่หน้าวารสาร จะทำให้สามารถลงทะเบียนเนื้อหาต่างๆ ในราชกิจจาฯ เล่มนั้นๆ ที่หน้าบทความวารสารได้ และหากมีเวลาพอ ก็สามารถสแกน เพื่อลงเป็น Fulltext เพื่อให้ผู้ใช้เปิดอ่านเนื้อหาได้ทันที สำหรับการกำหนดฉบับที่นั้น เนื่องจาก ราชกิจจานุเบกษาจะไม่มีวาระการออกที่แน่นอน การกำหนดฉบับที่ จึงควรทำเล่มต่อเล่ม เมื่อได้รับแล้ว ต่างจากวารสารที่เราสามารถกำหนดฉบับที่ล่วงหน้าได้ว่าจะได้รับฉบับที่เท่าไหร่ ปีที่เท่าไหร่ และจะได้รับเมื่อใด หากลงทะเบียนราชกิจจา ก็จะอยู่ในเงื่อนไขการให้ยืมแบบวารสาร โดยอัตโนมัติ แต่โดยปกติจะไม่มีการให้ยืมออกไป ตรงนี้จะเป็นปัญหาหรือไม่ในการอัพเกรด
ล่าสุด ทางบริษัทได้เพิ่ม รายการให้แยกประเภทวารสาร ออกได้อีก 2-3 ประเภท เพื่อให้สามารถกำหนดเงื่อนไขการยืมได้แตกต่างกัน ซึ่งรองรับพอดีกับกรณีนี้ครับ
เช่น กรณีวารสาร ก็กำหนดประเภทการให้ยืมแบบวารสาร กรณีราชกิจจานุเบกษา ก็กำหนดไม่ให้ยืม บางแห่งวารสารประเภทนิตยสาร มีผู้ต้องการใช้มาก มีคิวจองมาก ก็อาจกำหนดประเภทการให้ยืมเป็นแบบนิตยสาร และกำหนดระยะเวลาการยืมให้สั้นลง กำหนดค่าปรับกรณีส่งคืนช้าให้มากขึ้น ก็ได้ เพื่อให้มีการหมุนเวียนเร็วขึ้น สำหรับห้องสมุดที่ไม่ต้อง Feature นี้ก็ใช้งานตามปกติครับ ที่ทางบริษัททำเพิ่มเนื่องจากมีลูกค้าบางรายขอมา เพราะประสบปัญหาเรื่องที่มีคิวรอนาน และทางบริษัทเห็นว่า เป็นเรื่องที่ควรทำเพราะจะทำให้โปรแกรมมีความยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ต้องการให้จองผ่านเว็บ ในกรณีที่มีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดจะทำอย่างไร
ไปที่โปรแกรมหลักนะครับ เลือกเมนู ข้อมูลระบบ -> ข้อกำหนดห้องสมุด เอาเครื่องหมายถูกที่หน้าคำว่า จองได้แม้มีหนังสือพร้อมให้บริการออกถึงตรงนี้ หากยังไม่ได้อัพเกรดตัวโปรแกรมส่วนที่เป็น WebOPAC (บริษัท Upgrade Feature นี้เมื่อ กันยายน 2549) เลย ก็ต้องอัพเกรดนะครับ ติดต่อที่บริษัทเลยครับ
เครื่องติดไวรัส หรือมีปัญหาบ่อยๆ ฝ่ายไอทีแนะนำให้ล้างเครื่องใหม่ (Format) จะต้องทำอย่างไรบ้าง
ในแผ่น Setup จะบอกวิธีการสำรองข้อมูลไว้ ให้เปิดดูที่ไฟล์ตั้งต้นคือ index.html
ล้างเครื่องใหม่ (Format) ลงโปรแกรมตามที่ซีดีแนะนำแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดใช้งานโปรแกรมได้
มีกรณีที่เป็นไปได้คือ เครื่อง Server อาจติดตั้ง Firewall เพื่อป้องกันไวรัส และพวกโปรแกรมโทรจัน หรือการบุกรุกจากภายนอก ให้ตรวจสอบกับทางผู้ดูแลระบบครับ ว่าได้เปิด Port ให้เครื่อง Client สามารถเข้าใช้งานฐานข้อมูลแล้วหรือไม่ สำหรับ Mysql ให้เปิด port 3306 นะครับ ส่วน Sql Server เปิด Port 1433
สำหรับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็ก เครื่อง Server ที่ใช้อาจเป็น Windows XP ซึ่งหากเป็น Service Pack 2 ปัญหาก็น่าจะเกิดจากการเปิด Firewall ไว้เช่นกัน ให้ติดต่อผู้ดูแลระบบ เพื่อขอให้เปิด Port ให้เช่นกันครับ
สำหรับวิธีสังเกตง่ายๆ ว่าเป็นปัญหาจาก Firewall หรือไม่ ให้ดูว่า เครื่องลูกสามารถ ping ไปยังเครื่อง Server ได้หรือไม่ ถ้าได้ และแน่ใจว่า username และ password ที่ใช้ถูกต้อง ก็สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นเพราะสาเหตุนี้
เปลี่ยนเครื่อง Server หรือ Format เครื่องใหม่ เมื่อใส่รูปปกหนังสือ มีข้อความไม่สามารถคัดลอกไฟล์ได้
ปัญหานี้สำหรับผู้ดูแลระบบที่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ทั้งหมดถือเป็นเรื่องพื้นฐานในการทำงานกับระบบปฏิบัติการ Windows Server ในเรื่องของการ Share File หรือ Folder อย่างไรก็ตาม สำหรับห้องสมุดที่ไม่มีผู้ดูแลระบบ ก็สามารถแก้ปัญหาได้ไม่ยาก
เมื่อผู้ใช้เลือกภาพปก โปรแกรมคัดลอกหรืออัพโหลด แล้วแต่กรณี ภาพปกไปไว้ที่เครื่อง Server เพื่อให้เครื่องอื่นสามารถเห็นภาพปกได้ รวมทั้งเครื่องที่ต่อเข้าในระบบอินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต ดังนั้นจึงต้อง
- แชร์โฟลเดอร์ Multimedia (ปกติจะเก็บไว้ที่ C:/Appserv/www/library/multimedia สำหรับห้องสมุดที่ใช้ Appserv หรือที่ หรือ D:/xampp/htdocs/library/multimedia หากใช้โปรแกรม Xampp หากไม่พบให้ find หาโฟลเดอร์ชื่อ Multimedia)
- กำหนดสิทธิ์ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สามารถคัดลอกหรือแก้ไขข้อมูลในโฟลเดอร์ Multimedia ได้ ซึ่งถ้าหากเครื่อง Server ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 2000 หรือ 2003 ขึ้นไป วิธีการดังกล่าวคือการสร้าง User แล้ว Share ไฟล์ โดยกำหนดให้เฉพาะ User ที่สร้าง สามารถ Modify และ Write โฟลเดอร์ Multimedia ได้ รวมทั้งกำหนด Security ให้กับ User ของเครื่องด้วย
วิธีการทดลองง่ายๆ ว่าสามารถใช้งานได้หรือยัง โดยการเปิด Windows Explorer พิมพ์ ตามด้วยชื่อเครื่อง Server (เช่น libraryserver) หากเห็นชื่อ โฟลเดอร์ Multimedia และคลิ๊กเข้าไปดูไฟล์ที่อยู่ข้างในได้ แสดงว่า สามารถใช้งานได้แล้ว ให้นำค่า ตามด้วยชื่อ Serverและ multimedia ไปใช้ในระบุในที่จัดเก็บไฟล์ในเมนู ข้อมูลระบบ -> ข้อกำหนดห้องสมุด แต่ให้เปลี่ยนเครื่องหมาย Backslash เป็น Slash เช่น libraryservermultimedia เป็น //libraryserver/multimedia (ส่วนช่องที่ให้ระบุ IP Address ให้ใส่ IP ของเครื่อง Server แล้วตามด้วย librarymultimedia เช่น 192.168.1.1/library/multimedia
หากเป็นโปรแกรมรุ่นที่อัพเกรดหลังปี 2555 เป็นต้นไป สามารถกดปุ่ม Test ที่เมนู ข้อมูล -> ข้อมูลระบบ -> ข้อกำหนดห้องสมุด หลังใส่ข้อมูลที่จัดเก็บมัลติมีเดีย ได้เลยครับ
เครื่อง Server เข้าหน้าจอสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตได้ แต่เครื่องลูกที่อยู่ในเครือข่ายเข้าไม่ได้เกิดจากอะไร
หากเครื่องลูก Ping หาเครื่องแม่แล้ว เห็น (ดูวิธีการแก้ปัญหาเมื่อไม่สามารถใช้หน้าจอสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตได้ ในแผ่น Setup) ให้ตรวจสอบดูว่า มีการ Set Proxy ไว้หรือไม่ โดยเปิด Internet Exploror (เปิดหน้าเว็บ) เลือกไปที่เมนู Tool -> Internet Options…-> เลือกแท็บ Connections และกดปุ่ม LAN Setting… คลิ๊กเลือกตรงช่อง Automatrically detact setting ให้มีเครื่องหมายถูก ส่วน Proxy หากไม่ใช้ให้ปลดออก หรือกด เลือก Bypass proxy server for local addresses