ถึงคราวต้องคลาวด์!!
การพัฒนาโปรแกรมห้องสมุด จะแยกเป็น 2 แนวทางคือ เป็น Windows Application และ Web Application ซึ่งแม้จะทำงานได้เหมือนกันเกือบจะ 100% แต่ทั้ง 2 แบบ ก็มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไป ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับโปรแกรมทั้ง 2 แบบนี้ก่อนนะครับ
Windows Application คือการใช้งานโปรแกรมบนระบบ Windows ที่เราคุ้นเคย การติดตั้งโปรแกรมจะทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า เครื่องลูกหรือ Client จะติดตั้งเพียง 1 เครื่องหรือหลายเครื่องก็ได้ตามความต้องการใช้งาน และจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง (ซึ่งปกติจะมีสเปคหรือคุณสมบัติของเครื่องที่สูงกว่าเครื่อง Client) ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย หรือ Server ทำหน้าจัดเก็บฐานข้อมูล จัดเก็บโปรแกรมและให้บริการการสืบค้นและอื่นๆ ผ่านเว็บบราวเซอร์ (Web Browser เช่น Chrome, Edge, IE, Firefox ฯลฯ) จัดเก็บไฟล์มัลติมีเดีย ฯลฯ
อย่างไรก็ดี สำหรับบางองค์กรที่มีทรัพยากรจำกัด สามารถใช้เครื่องเพียงเครื่องเดียวทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่อง Client และเครื่อง Server ได้ แต่การแยกเครื่อง หากมองในด้านความปลอดภัยจะมีมากกว่า ทั้งเรื่องไวรัส การสำรองข้อมูลที่สามารถทำได้มากขึ้น เป็นต้น
Web Application – บริษัทยกเลิกการขายไปแล้วนะครับ – เป็นโปรแกรมที่ทำงานบน Web Browser ทั้งหมด โดยจะติดตั้งโปรแกรม ฐานข้อมูล ลงบนเครื่อง Server ส่วนเครื่องที่ต้องการทำงาน ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมแต่อย่างใด เพียงเปิดโปรแกรม Web Browser เช่น Chrome , Edge หรืออื่นๆ แล้วพิมพ์ url (ที่อยู่ของโปรแกรม) ในช่อง Address ก็สามารถใช้งานได้ทันที
หาก Server อยู่ในระบบอินทราเน็ตคือ ภายในองค์กร ก็จะใช้งานได้เฉพาะภายในเครือข่ายองค์กร แต่หากลูกค้าต้องการให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นหรือใช้บริการข้อมูลได้จากทุกที่ ทุกเวลา ทั่วโลก ก็สามารถเชื่อม Server เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือหันไปเช่าใช้พื้นที่ (Hosting) ของผู้ให้บริการ เพื่อทำหน้าที่เป็น Server ได้
ทั้ง 2 แบบ ขายในรูปแบบขายขาด (Perpetual) คือจ่ายครั้งเดียวจบ เหมือนการซื้อสินค้าทั่วๆ ไป
ถึงตรงนี้ อาจมีหลายท่านคิดว่า ถ้าให้เลือก ก็น่าจะเลือกใช้ระบบ Web Application ดีกว่า แต่ในความเป็นจริง ลูกค้ามากกว่า 90% เลือกระบบ Windows Application เมื่อพบว่า โปรแกรมแบบ Windows Application ตอบสนองการทำงานได้ดีกว่า มีความเป็นมิตรกับผู้ใช้ (User friendly) มากกว่า การใช้งานร่วมกับฮาร์ดแวร์ ก็ทำได้ดีกว่า การพิมพ์ให้ได้ผลตามที่ต้องการทำได้ดีกว่า ฯลฯ
อย่างไรก็ดี ข้อด้อยของ Windows Application ที่สำคัญ สำหรับลูกค้าหลายแห่งคือ หากต้องการให้ผู้ใช้บริการสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องเชื่อมเครื่อง Server ที่อยู่ในองค์กรเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากไม่มีอยู่แล้วจะต้องลงทุนค่อนข้างมากทั้งค่าใช้จ่ายครั้งแรก และค่าใช้จ่ายแบบรายเดือนที่สูงมาก
หากจะหันไปใช้การเช่าพื้นที่ Hosting เพื่อทำ Server ก็ติดปัญหาที่ Windows Application ไม่สามารถเชื่อมต่อเพื่อไปยังฐานข้อมูลได้โดยตรง การแก้ปัญหาด้วยการอัพโหลดฐานข้อมูลที่ใช้อยู่ ไปยัง Hosting เป็นระยะๆ ก็มีปัญหาข้อมูลไม่ Real time คือตัวเล่มอาจถูกยืมไปแล้ว แต่ฐานข้อมูลบน Hosting ยังเป็นของเดิมที่ระบุว่า ยังมีพร้อมให้บริการ
ระบบ Cloud ตอบโจทย์นี้ได้อย่างไร!
ผู้ให้บริการ Cloud มีรูปแบบการให้บริการในหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือ อนุญาตให้ผู้เช่า ใช้พื้นที่เสมือนเป็น Server ของตัวเอง โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับผู้เช่าพื้นที่รายอื่นๆ ทำให้สามารถกำหนดอะไรค่าต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการกำหนดให้โปรแกรมสามารถติดต่อไปยังฐานข้อมูลที่อยู่บน Cloud ได้โดยตรง!
หมายความว่า ลูกค้าสามารถใช้โปรแกรมห้องสมุดที่ดีและใช้งานง่ายที่สุด ในรูปแบบ Windows Application พร้อมๆ กับการตอบโจทย์ให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลหรือรับบริการอื่นๆ ได้จากทุกที่ ทุกเวลา ทั่วโลก ได้แบบ Online realtime! และที่สำคัญ ในราคาที่ต่ำลงอย่างมาก
on Cloud มีดีแค่นี้หรือ?
ไม่ครับ ด้วยรูปแบบของ Cloud คือการเช่าใช้พื้นที่เพื่อทำ Server ดังนั้น ลูกค้าจึงไม่ต้องจัดซื้อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นเครื่อง Server บางท่านอาจคิดว่า ถ้าซื้อเครื่องก็ได้เครื่องเป็นขององค์กร จ่ายครั้งเดียวจบ ไม่ต้องมาเสียค่าใช้จ่ายเช่าพื้นที่เป็นรายเดือน รายปี น่าจะดีกว่า
แต่ในความเป็นจริง เครื่องคอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งาน สมมติซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดา สเปคใช้งานทั่วไป (ไม่ใช่เครื่องสำหรับทำ Server จริง ที่มีสเปคที่ดีกว่า) ราคาประมาณ 30,000 บาท มาทำเป็นเครื่อง Server ใช้งานแบบยืดอายุสุดๆ 10 ปี หารเฉลี่ยปีละ 3,000 บาท ไม่รวมค่าซ่อมบำรุง ค่าอัพเกรดเพราะเครื่องเริ่มช้า เนื่องซอฟต์แวร์เริ่มกินทรัพยากรมากขึ้น ฯลฯ เทียบกับการเช่า Cloud พร้อมโปรแกรมหลักพันบาทต่อปี และเชื่อว่าคุณสมบัติของเครื่องจะมีการอัพเดทอยู่เสมอ
ลูกค้าไม่ต้องกังวลกับการสำรองฐานข้อมูล ผู้ให้บริการ Cloud จะทำการสำรองทุกอย่างตามรอบระยะเวลา ทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ การเลือกความถี่การสำรองมีผลกับราคาค่าบริการ และขึ้นอยู่กับความต้องการและจำเป็นของลูกค้า เช่นหากมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณข้อมูลต่อวันมาก ก็อาจเลือกให้สำรองทุกวันเป็นต้น
อย่างไรก็ดีราคาจะไม่แตกต่างกันมากนัก
นอกเหนือจากการใช้งานสืบค้นหรือบริการข้อมูลดังที่กล่าวข้างต้น ยังสามารถใช้งานผ่าน Application บนมือถือ Smartphone, Tablet ได้แบบทุกที่ ทุกเวลาด้วยเช่นกัน ไม่ต้องผูกติดกับ Wifi ภายในห้องสมุดหรือองค์กรอีกต่อไป
ทำไมบริษัท จึงพยายามผลักดันให้ลูกค้าหันมาใช้ระบบ Cloud?
เหตุผลสำคัญ คือการดูแลลูกค้าของบริษัท ในฝั่งที่เกี่ยวกับฐานข้อมูลหรืออื่นๆ บนเครื่อง Server จะทำให้ได้ง่ายขึ้นมาก เมื่อลูกค้าพบปัญหาสามารถแจ้งมายังบริษัท บริษัทจะสามารถเข้าไปจัดการ มองหาปัญหาและแก้ไขได้ทันที เปรียบเทียบกับบางองค์กรที่การเข้าถึง Server ทำได้ยาก เนื่องจากนโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยขององค์กร ที่ไม่ต้องการให้มีการเข้าถึงเครื่อง Server จากภายนอก โดยเฉพาะหากใช้เครื่อง Server ร่วมกับ Application อื่นๆ จะทำให้การประสานงาน การแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำได้ยาก ส่งผลต่อราคาของโปรแกรม ซึ่งต้องบวกความเสี่ยงในการดูแลระบบ
สำหรับนโยบายการรักษาความปลอดภัยของเครื่อง Client ที่เป็นเครื่องสำหรับทำงาน โดยปกติองค์กรจะไม่เข้มงวดเท่ากับเครื่องแม่ข่าย ทำให้สามารถใช้โปรแกรมรีโมท เช่น Anydesk, Teamviewer, Logmein เข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาได้ หรือกรณีที่สามารถรีโมทเข้าไปได้ การแก้ไขปัญหาแม้แต่กรณีที่ร้ายแรงที่สุดเช่นต้องล้างเครื่องเพราะติดไวรัส ก็ทำเพียงติดตั้งโปรแกรมใหม่(ด้วยขั้นตอนง่ายๆ) และกำหนดค่าเพื่อระบุที่อยู่ฐานข้อมูลที่อยู่บนเครื่อง Server เท่านั้น
ขอย้ำอีกครั้งนะครับว่า แม้ว่าโปรแกรม Digital Librarian จะมีความเสถียรในระดับที่ลูกค้าส่วนใหญ่ จะไม่มีปัญหาเลยเป็นระยะเวลาหลายๆ ปี แต่ทางบริษัท ยังต้องคำนึงถึงต้นทุนการให้บริการหลังการขายนี้ด้วย หากเปลี่ยนเป็นระบบ Cloud ข้อคำนึงในส่วนนี้จะลดลงไปได้มาก ซึ่งจะส่งผลให้ราคาโปรแกรมต่ำกว่าระบบเดิมอย่างมาก
ข้อโต้แย้งที่อาจพบ เมื่อนำเสนอระบบ Cloud นอกเหนือจากประเด็นเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กล่าวข้างต้น คือ การเสียค่าจ่ายทุกปี ไม่มีสิ้นสุดจนกว่าคิดจะเลิกใช้ เหมือนเป็นการเช่าใช้ อยากให้พิจารณาอย่างนี้นะครับ
ราคาเริ่มต้นของการใช้ on Cloud ในระบบหลัก จะต่ำกว่าแบบขายขาดอย่างมาก ต่างกันจนถึงขนาดสามารถเอาส่วนต่างไปใช้จัดซื้อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานเป็นเครื่อง Client หรือใช้งานทั่วไปได้อย่างน้อย 1 เครื่อง
ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายต่อปี สมมติเริ่มต้นที่ 3,000 บาท นอกจากเป็นค่าพื้นที่แล้ว ยังรวมถึงการใช้งานโปรแกรม และการดูแลรักษาแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย เพื่อประกันว่าลูกค้าจะสามารถใช้งานระบบได้ดีและต่อเนื่อง แต่ก็เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับค่าใช้พื้นที่ที่บริษัทต้องเสียให้กับผู้ให้บริการ Cloud จนบริษัทอาจบอกว่า ดูแลรักษาระบบให้ฟรีตลอดอายุการใช้งาน แต่นั่นไม่จริง เพราะบริษัทได้บวกส่วนนี้เข้าไปแล้ว
องค์กร ไม่คุ้นชินกับการจ่ายเงินแบบ Subscribtion ที่ต้องจ่ายค่าสินค้าทุกปี (ซึ่งอนาคตคงหนีไม่พ้น เพราะซอฟต์แวร์ทั่วโลกเริ่มหันมาขายในลักษณะนี้อย่างเดียวแล้ว เช่น Teamviewer ที่เราท่านรู้จักกันดี) ผู้บริหารมองว่า เหมือนเป็นงบผูกพัน สร้างภาระที่ต้องจ่ายให้กับรุ่นต่อไป คงต้องหวังให้เปลี่ยนมุมมอง มองแบบเดียวกับที่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ ที่ต้องจ่ายทุกเดือนๆ ที่สำคัญ การจ่ายลักษณะนี้ เหมือนกับการเลือกค่ายมือถือ ค่ายอินเตอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือหากโปรแกรมไม่ดี ใช้แล้วมีปัญหา อยากจะยกเลิกไปหาใหม่ก็ทำได้ง่ายๆ เพราะราคาที่แสนต่ำ หรือหากใช้แล้วดี อยากเปลี่ยนมาเป็นแบบซื้อขาด บริษัทก็มีข้อเสนอที่ดีให้ (คลิ๊กดูรูปแบบการขายและราคา)
ถ้าซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้เอง จะสามารถทำงานอย่างอื่นได้ด้วย จริงๆ แล้วเมื่อต้องใช้เครื่องทำงานเป็น Server จะไม่แนะนำให้ลูกค้าใช้เครื่องทำงานอื่น เพราะอาจเกิดปัญหาติดไวรัส จากการนำอุปกรณ์ภายนอกสำหรับทำงานอื่นมาใช้ แต่หากต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอื่นจริง อย่าลืมที่บอกในข้อ 1 นะครับว่า ส่วนต่างของราคาของ 2 ระบบ สามารถนำไปซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไปได้อย่างน้อย 1 เครื่องครับ
ถึงตรงนี้คงกระจ่างแล้วนะครับว่า ทำไมถึงคราวต้องคลาวด์ หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามด้วยช่องทางต่างๆ ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างครับ
สวัสดีครับ.