Digital Librarian – พิมพ์บาร์โค้ด

วันนี้ขออนุญาตมาเล่าสั้นๆ ในแนวตอบคำถาม เกี่ยวกับการพิมพ์บาร์โค้ด เพื่อให้ลูกค้าใหม่และท่านที่สนใจได้ทราบว่า จะทำได้อย่างไร จะต้องใช้เครื่องพิมพแบบไหน ต้องใช้เครื่องพิมพ์บาร์โด้ดโดยเฉพาะหรือไม่ ต้องใช้สติ๊กเกอร์ชนาดไหน พิมพ์แล้วต้องตัดแต่ละส่วนๆ เพื่อนำไปติดเองหรือไม่ ฯลฯ

ต้องพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะหรือไม่

คำตอบคือไม่ ผู้ใช้สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สำนักงานทั่วไปได้ และไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องพิมพ์ Lazer เครื่องพิมพ์ Inkjet ก็ใช้ได้เหมือนกัน เนื่องจากปัจจุบันหมึกพิมพ์ได้พัฒนาไปมาก ทำให้ทนความชื้นสูงไม่แพ้หมึก Lazer ไม่ต้องกังวลว่าจะเลอะหรือเลือน

ถ้าต้องการพิมพ์สีตามหมวด เพื่อแก้ปัญหาหนังสือหลงชั้น ก็สามารถทำได้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า Lazer

นอกจากพิมพ์บาร์โค้ด ผู้ใช้สามารถพิมพ์สันปกหนังสือ และทะเบียน เพื่อนำไปติดบนส่วนต่างๆ ของหนังสือในคราวเดียวกันได้ด้วย

พิมพ์ลงสติ๊กเกอร์แบบไหน ต้องตัดเองหรือไม่

พิมพ์บนสติกเกอร์สำเร็จรูปที่เรียกว่า Lab Sticker ครับ สติ๊กเกอร์แบบนี้จะเจาะเป็นช่อง เมื่อพิมพ์แล้ว สามารถลอกไปติดได้ทันที ไม่ต้องตัดเอง

ขนาดที่แนะนำคือ A10 โดยสติกเกอร์แต่ละดวงจะมีขนาด 2.5 x 5.0 ซ.ม. และขนาดกระดาษรอง กว้างเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวของขนาดกระดาษ A4 เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีมากมายหลายยี่ห้อ



Lab Sticker A10 แต่ละแผ่นจะมี 8 แถว แต่ละแถวจะมีสติ๊กเกอร์ 3 ดวง ดวงแรก โปรแกรมจะพิมพ์เป็นสันปก ดวงที่ 2 เป็นส่วนบาร์โค้ดพร้อมรายละเอียดอื่น และดวงสุดท้าย เป็นทะเบียน วันลงทะเบียน เลขเรียก เพื่อนำไปติดหนังสือแต่ละเล่ม

ดังนั้น สติ๊กเกอร์ 1 แผ่น จะพิมพ์หนังสือได้ 8 เล่ม 1 แพคมี 15 แผ่นๆ แพคนึงจึงพิมพ์ได้ 120 เล่ม ปกติขายเป็นแพค ราคาประมาณ 30 บาท

ดูจากขนาดสันปกมันจะยาวไป พิมพ์แยกส่วนได้ไหม

คำตอบคือได้ครับ แต่ไม่อยากแนะนำ เพราะขนาดกระดาษก็ไม่ได้สั้นยาวต่างกันมาก แต่การพิมพ์แยกส่วนจะทำให้การทำงานดูสับสนยุ่งยากขึ้น คือแทนที่จะหยิบสติกเกอร์ 1 แผ่น ลอกและนำไปติดแต่ละส่วน ต้องหยิบสติกเกอร์แผ่นนึง มาติดส่วนนั้น แล้วไปหยิบอีกแผ่นมาติดส่วนนี้ แล้วอีกแผ่นมาติดส่วนโน้น อย่างไรก็ดี จะเลือกแบบไหน ก็แล้วแต่ที่เห็นเหมาะสมครับ โปรแกรมมีรองรับการพิมพ์แยกส่วนไว้ให้แล้ว

แต่จุดประสงค์หลักที่ให้สามารถพิมพ์แยกเป็นส่วนๆ ได้ เป็นกรณีที่บางส่วนเกิดชำรุดเสียหาย และต้องพิมพ์ซ่อมเฉพาะส่วนครับ และเนื่องจากการพิมพ์ซ่อม เลขทะเบียนจะไม่ต่อเนื่องกัน เวลาจะสั่งพิมพ์ จึงสามารถสั่งแบบเลขนี้ เลขนี้ และเลขนี้ถึงเลขนี้ และเลขนี้ ได้เช่น 00017,00069-00072,00346 เป็นต้น

รองรับ Lab Sticker ขนาดอื่นได้หรือไม่

ได้ครับ โปรแกรมมีให้ระบุขนาดความกว้าง ความยาว ของสติ๊กเกอร์ จำนวนแถว จำนวนดวงแต่ละแถว ระยะห่างระหว่างแถว ระหว่างดวง ฯลฯ ได้หมดครับ

ถ้าพิมพ์แล้วลอกออกมา ตัวหนังสือขาด ใช้ไม่ได้ จะทำอย่างไร

คำตอบคือ ผู้ใช้สามารถขยับปรับตำแหน่งขึ้นลง ซ้ายขวา ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการได้