ระบบห้องสมุด Digital Librarian ระบบห้องสมุด Digital Librarian

อัพเดทส่งท้ายปี 65 ต้อนรับปี 66 เดือนธันวาคม มี 2 เรื่องหลักๆ ครับ

1. ปรับขนาดหน้าจอทุกหน้าจอให้เต็มจอ ตามฟีดแบ็คของลูกค้าที่อึดอัดกับขนาดหน้าจอ โดยเฉพาะหน้าจอลงทะเบียนหนังสือและยืมคืน เมื่อลองปรับตามใจลูกค้า จึงพบว่า ให้ความรู้สึกโล่ง สบายตาจริงๆ จึงปรับทุกหน้าจอจนหมด อันนี้เป็นข้อพิสูจน์ว่า เรารับฟังและตอบสนองทุกฟีดแบคที่เห็นด้วยว่าดีและมีประโยชน์ของลูกค้า และหากพิจารณาแล้วว่า สิ่งไหนเป็นความต้องการเฉพาะที่ไม่ได้เหมาะกับทุกห้องสมุด หากอยู่ในวิสัยที่จะทำให้ได้ เราก็ทำให้เป็นการเฉพาะเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อความพอใจสูงสุดของลูกค้า

2. ปกติก่อนการลงทะเบียนหนังสือ จำเป็นต้องดูก่อนว่า ชื่อเรื่องนั้นมีอยู่ในฐานข้อมูลหรือไม่ ผลลัพธ์มี 1 ใน 3 กรณีคือ

  • หากมีอยู่แล้วและพบว่าเป็นผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ครั้งที่พิมพ์ เหมือนกันก็เพียงเพิ่มสำเนา
  • หากเป็นชื่อเรื่องเดียวกัน ผู้แต่ง สำนักพิมพ์เดียวกัน แต่พิมพ์คนละครั้ง จะถือเป็นคนละรายการ จะใช้วิธีการ Copy รายการที่พบ และแก้ไขข้อมูลให้ตรงกับเล่มที่ต้องการลงทะเบียน
  • หากไม่พบก็ลงทะเบียนเพิ่มเป็นชือเรื่องใหม่ตามปกติ

ประเด็นคือ ในการค้นหา หากชื่อเรื่องในฐานข้อมูลมีการเคาะเว้นช่องว่างที่แปลกไปเช่นเคาะมากกว่า 1 เคาะขึ้นไป หรือไม่เคาะเว้นวรรคเลย จะทำให้มีปัญหาหาหนังสือไม่พบ และทำให้เกิดการลงทะเบียนแยกเป็น 2, 3, 4 รายการ (ทั้งๆ ที่ควรจะอยู่ในรายการชื่อเรื่องเดียวกัน) เช่น หากเดิมในฐานข้อมูลมีชื่อเรื่อง

100Great Wonders of the World หรือ

100 Great Wonders of the World

แต่ตอนค้นเพื่อหาหนังสือ คีย์เป็น 100 Great ก็จะไม่พบชื่อเรื่องนี้ บรรณารักษ์จึงลงทะเบียนเป็นรายการใหม่ เพราะเข้าใจว่าไม่มีชื่อเรื่องนี้ในฐานข้อมูล

เมื่อสมาชิก มาค้นหาหนังสือ 100 Great Wonders of the World ก็จะพบว่า มีหนังสือเหมือนกัน 2 รายการหรือมากกว่า สมาชิกต้องเสียเวลาคลิ๊กดูทีละรายการว่า มีสำเนาว่างอยู่หรือไม่ ทั้งที่ควรจะรวมอยู่ในรายการเดียวกัน และแสดงทุกสำเนาในคราวเดียว

เดิมการแก้ปัญหานี้ ทางเราจะแนะนำให้ลูกค้าคีย์ชื่อเพียงสั้นๆ เช่น 100 แทนที่จะคีย์ 100 Great เพื่อค้นหา ซึ่งจะรับประกันได้ว่า จะพบสำเนาที่วรรคแปลกๆ แน่นอน แต่ระยะหลังเนื่องจากมีลูกค้าใหม่ ที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมกับทางบริษัท หรือบรรณารักษ์รุ่นเปลี่ยนผ่าน มักจะคีย์แบบยาวๆ

ที่สุดทางเราจึงต้องป้องกันปัญหานี้โดยปรับปรุงโปรแกรมให้ค้นหาชื่อเรื่องโดยไม่สนใจช่องว่าง บรรณารักษ์สามารถพิมพ์ 100 great (หรือแม้แต่ 100great หรือ 100 great ) เพื่อค้นหาก่อนการลงทะเบียนได้ โดยไม่ว่าในฐานข้อมูลจะลงทะเบียนเป็น 100 Great Wonders of the World หรือ 100Great Wonders of the World หรือ 100 Great Wonders of the World โปรแกรมก็จะค้นพบและนำมาแสดงได้

นอกจากนี้ ยังได้ปรับระบบสืบค้นให้สืบค้นชื่อเรื่อง ที่มีการเคาะเว้นวรรคที่แปลกๆ เหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งระบบสืบค้นแบบปกติ (OPAC) สืบค้นผ่านเว็บ บราวเซอร์ (Web OPAC) หรือสืบค้นผ่าน Mobile Device เพื่อรับประกันว่า ไม่ว่า ผู้ใช้จะเคาะเว้นวรรคแบบไหน ไม่ว่าในฐานข้อมูลจะเว้นวรรคแปลกๆ อย่างไร ในที่สุดผู้ใช้ก็จะพบหนังสือชื่อเรื่องที่ต้องการ

ส่วนการแก้ไขปัญหากรณีที่มีการลงรายการแยกเป็นมากกว่า 1 รายการ และการคีย์เว้นวรรคที่มากกว่า 1 วรรค สามารถทำได้โดยฟังก์ชั่นที่มีอยู่แล้วในโปรแกรมครับ

สำหรับลูกค้าที่ใช้งานโปรแกรมอยู่แล้ว มาทบทวนกันนะครับ…

การแก้ไขชื่อเรื่องที่เคาะหลายวรรค ให้เหลือเพียงวรรคเดียว

ยกตัวอย่างมีหนังสือ ที่ชื่อเรื่องมีการเคาะมากกว่า 1 วรรค

แนวทางตัวอย่างการพูด ในโอกาสต่างๆ เล่ม 2

วิธีการแก้ไข ให้นึกถึงตอนแก้ไข หนังสือที่มีชื่อ กฏหมาย (กอไก่-ตอปะตัก) เป็น กฎหมาย (กอไก่-ดอชะดา) โดยเปลี่ยนเป็นการเคาะช่องว่างหรือสเปซบาร์ 2 เคาะ(เหมือน กอไก-ตอปะตัก) กับ 1 เคาะ (เหมือนกอไก่-ดอชะดา) แทน มาทบทวนอีกครั้งนะครับ โดยเข้าไปที่

  1. เมนู เครื่องมือ เลือกเมนูเครื่องมือ
  2. เลือกเมนู ลบคำซ้ำซ้อน
  3. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ ชื่อเรื่อง
  4. ช่องที่ 1 เคาะสเปซบาร์ 2 เคาะ (ตอนอบรมตรงนี้เป็น กอไก่-ตอปะตัก)
  5. ช่องที่ 2 เคาะสเปซบาร์ 1 เคาะ (ตรงนี้คือ กอไก่-ดอชะดา ตอนอบรม)
  6. คลิ๊ก ต่อไป
  7. คลิ๊กช่อง เปลี่ยน ตรงช่องที่ 1 ที่เคาะ 2 วรรค (เหมือนช่อง กอไก่-ตอปะตัก)
  8. คลิ๊กที่ช่อง เป็น ตรงช่องที่ 2 ที่เคาะ 1 วรรค (เหมือนช่อง กอไก่-ดอชะดา)
  9. กดเครื่องหมายถูก รัวๅ สัก 4-5 ครั้งก็ได้ หากไม่แน่ใจว่า จะมีการเคาะมากกว่า 2 ครั้งหรือไม่
  10. กด Save

เท่านี้ ทุกชื่อเรื่องที่เคาะเว้นวรรคมากกว่า 2 เคาะ จะถูกเปลี่ยนให้เหลือเคาะเดียว ทั้งหมด
ย้ำนะครับว่า ในการแก้ไขแบบนี้ เมื่อแก้แล้ว จะมีผลกับทุกชื่อเรื่องทันที บรรณารักษ์ไม่ต้องมานั่งค้นหา และแก้ไขทีละชื่อเรื่องๆ

การรวมสำเนา

หากพบกรณีที่ลงทะเบียนแยกรายการทั้งที่ควรจะเป็นรายการเดียวกัน ในโปรแกรมก็มีเครื่องมือสำหรับการ Merge หรือรวมข้อมูล เพื่อให้ย้ายข้อมูลสำเนา มาอยู่ภายใต้ชื่อเรื่องเดียวกัน โดยยังคงรักษาสถิติการยืมคืนของสำเนาที่ถูกย้ายมา

ทบทวนวิธีการนะครับ

  1. เลือกชื่อเรื่องที่จะตัด
  2. กดปุ่มตัด
  3. เลือกชื่อเรื่องที่ต้องการจะไปรวม
  4. กดปุ่มรวม

ที่เหลือก็เพียงระบุสำเนา ฉ. หรือ c. ว่าฉบับไหนจะเป็น ฉ. หรือ c. เท่าไหร่ แล้วกดปุ่ม บันทึกครับ

คุณูปการของการแก้ไขนี้ จะทำให้ข้อมูลในฐานข้อมูลมีความถูกต้อง ข้อมูลดูสวยๆ ผู้ใช้บริการจะรู้สึกดี เห็นถึงความตั้งใจในการทำงาน เทียบกับข้อมูลที่แสดงถ้าดูอิเหระเขะขะ ความรู้สึกจะแตกต่างกันเยอะครับ