เลขผู้แต่ง หาจากที่ไหนและใช้อย่างไรให้ดู Smart

เลขผู้แต่ง ระหว่างเขียนถึงการอัพเกรดโปรแกรม มีรายการอัพเกรดนึงที่น่าสนใจ คือการเก็บเลขประจำตัวผู้แต่ง หรือ Cutter ไว้พ่วงไปกับชื่อผู้แต่งแต่ละท่าน เพื่อให้เมื่อมีการลงทะเบียนหนังสือชื่อเรื่องอื่น ที่มีผู้แต่งหลักเป็นท่านเดิมในครั้งต่อไป โปรแกรมจะได้สร้าง และเติมข้อมูลในส่วนของเลขผู้แต่ง (ตามที่ปรากฎในวงกลมสีแดงในภาพประกอบ) ให้โดยอัตโนมัติ ทันทีที่เลือกชื่อผู้แต่งหลักเสร็จ

ก่อนอื่นจะขอพูดถึงวิธีการหาเลขประจำตัวผู้แต่ง สำหรับผู้ที่ไม่ได้จบบรรณารักษ์ แต่ต้องมาทำหน้าที่ ก่อน คือโดยปกติ ผู้แต่งแต่ละชื่อ จะมีเลขประจำตัวผู้แต่ง เป็นกำกับไว้ เช่น ชื่อสุรีพร หรือสุรีภรณ์ จะมีเลขประจำตัวผู้แต่งเป็น ส877 ชื่อสุรีย์ ใช้ ส878 สุรีรัตน์ ใช้ 879 การเปิดตำรา หาเลขประจำตัวผู้แต่งก็ดูจะยุ่งยากเสียเวลา

จึงขอแนะนำ เว็บไซต์สำหรับค้นหาเลขประจำตัวผู้แต่ง คือที่ ระบบจัดการเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทย
หนังสือฝรั่ง หาที่ http://calculate.alptown.com/ (ใส่ชื่อที่ต้องการค้นหาแล้ว กดตรง LC Cutter) ที่กรอบ Search option

หรือไปที่เว็บไซต์ เลขผู้แต่ง – เรียนดิวอี้กับอาจารย์เบญ ของร.ศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก ซึ่งได้นำเสนอวิธีการหาเลขประจำตัวผู้แต่ง ทั้งไทยและอังกฤษ ในรูปแบบ pdf ไฟล์ หรือค้นจากเว็บแบบออนไลน์ ให้เลือกใช้ตามความชอบ ความถนัดกันได้เลย

Digital Librarian กับการเติมเลขผู้แต่งอัตโนมัติ

สำหรับโปรแกรม Digital Librarian เมื่อมีการใส่ชื่อ และเลขประจำตัวผู้แต่ง ของผู้แต่งท่านนั้นไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ในการลงทะเบียนหนังสือเล่มอื่นๆ ที่มีผู้แต่งหลักเป็นคนเดียวกัน โปรแกรมจะทำการสร้างเลขผู้แต่งสำหรับหนังสือชื่อนั้นๆ ให้โดยอัตโนมัติ

โดยเฉพาะห้องสมุดที่ใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (Dewey) โปรแกรมจะนำตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องมาประกอบเป็นเลขผู้แต่งของหนังสือเล่มนั้น ให้ด้วยโดยท่านไม่ต้องร้องขอแต่อย่างใด (ฮา) เช่น

ลองดูวิดิโอ การลงทะเบียนชื่อผู้แต่ง เลขผู้แต่ง และการให้เลขผู้แต่งโดยอัตโนมัติของโปรแกรม Digital Librarian ประกอบนะครับ

อธิบายวิดิโอได้ว่า

  • สมมติ ในการลงทะเบียนหนังสือชื่อ 100 วิธีพูดอังกฤษแบบเหนือชั้น ! ยังลงข้อมูลไม่เสร็จ หรือเพราะลืม จึงยังไม่ได้ใส่ชื่อผู้แต่ง
  • จึงใส่ชื่อหนังสือเข้าไปเพื่อค้นหาและดึงข้อมูลออกมา ซึ่งจะสังเกตได้ว่า นอกจากไม่มีชื่อผู้แต่งแล้ว ในช่องเลขผู้แต่งก็ไม่มีข้อมูลด้วย
  • จึงดับเบิ้ลคคลิ๊กที่ช่องชื่อผู้แต่ง เรียกกรอบค้นหาชื่อผู้แต่งขึ้นมา ใส่ชื่อ สุรัตน์ ทองอินทร์ แล้วกด Enter โปรแกรมจะสร้างให้เลขประจำตัวผู้แต่งเป็น ส – (หากต้องการใช้แบบนี้ไม่ต้องการระบุเป็นตัวเลขจริง ก็กด Enter อีกทีเพื่อปิดหน้าจอผู้แต่งได้เลย แต่)หากต้องการใส่เลขประจำตัวผู้แต่ง ที่หามาได้ข้างต้น ก็แก้เป็น เช่น ส879 แล้วกดปุ่มเครื่องหมายถูก (ตรงนี้จะกด Enter ก็ได้) เพื่อปิดหน้าจอผู้แต่ง
  • โปรแกรมกลับมาที่หน้าจอลงทะเบียนหลัก จะพบชื่อผู้แต่งที่เพิ่งใส่เข้าไป และมีเลขผู้แต่งแล้ว
  • ท้ายเลขผู้แต่ง ส879 จะพบตัวอักษร ห หีบ แถมมาด้วย คือได้เป็น ส879ห ห หีบ คือ ตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องที่โปรแกรมดีงมาให้ จากชื่อเรื่อง 100 วิธีพูดภาษาอังกฤษแบบเหนือชั้น ! ซึ่งอ่านได้เป็น หนึ่งร้อยวิธีพูดภาษาอังกฤษแบบเหนือชั้น ! โปรแกรมจึงใส่ตัว ห หีบให้
  • ต่อมา ได้สมมติต้องการลงทะเบียนหนังสือเล่มอื่น เช่น ภาษาอังกฤษ ง่ายนิดเดียว คราวนี้ลองใส่ชื่อผู้แต่งคนเดิม เมื่อพิมพ์ชื่อ สุรี ยังไม่ทันครบโปรแกรมก็จะดึงชื่อผู้แต่งที่ชื่อ สุรี ทั้งหลายมาให้ ถึงตรงนี้หากผู้ใช้โปรแกรมต้องการพิมพ์ชื่อต่อ เพื่อให้โปรแกรมเอาแถบสีน้ำเงินไปวางทับ หรือไฮไลต์ ชื่อผู้แต่งที่ต้องการแล้วกด Enter เพื่อเลือกใช้และปิดหน้าจอผู้แต่งก็ได้ หรือหากจับเมาส์มาดับเบิ้ลคลิ๊กชื่อผู้แต่งที่ต้องการเพื่อเลือกและปิดหน้าจอผู้แต่งก็ได้
  • เมื่อโปรแกรมกลับมาที่หน้าจอลงทะเบียน จะพบทั้งชื่อผู้แต่ง และเลขผู้แต่ง รวมถึงตัวอักษร ภ (ตัวอักษรตัวแรกจากชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว) ที่เติมท้ายเลขผู้แต่งด้วย

ส่วนห้องสมุดที่ไม่ใช้เลขผู้แต่งที่มีส่วนของตัวเลข แต่อยากใช้เครื่องหมาย – (ขีด หรือ Hyphen) แทน เช่น ส – ห ส – ภ โปรแกรมก็จะสร้างเลขผู้แต่งรูปแบบนี้ให้ท่านโดยอัตโนมัติเช่นกัน โดยท่านเพียงกำหนดรูปแบบนี้ ในตอนที่เริ่มใช้งานโปรแกรมครั้งแรกเท่านั้น!!

เจ๋งอ่ะ!!

อาจมีคำถามว่า ทำไมโปรแกรม Digital Librarian จึงไม่ให้กรอกชื่อผู้แต่ง นามสกุลผู้แต่งเข้าไปในช่องผู้แต่งได้เลย ทำไมต้องดับเบิ้ลคลิ๊กที่ช่องชื่อผู้แต่ง แล้วเรียกหน้าจอชื่อผู้แต่งขึ้นมา เหมือนเพิ่มขั้นตอนการทำงานให้ดูยุ่งยาก คำตอบคือ มันไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เพราะเพียงแค่ดับเบิ่ลคลิ๊กที่ช่องชื่อผู้แต่ง หรือ จะกดปุ่มสเปซบาร์ (Spacebar ปุ่มยาวๆ ตรงกลางคีย์บอร์ด) ก็สามารถเรียกหน้าจอผู้แต่งขึ้นมาก็ได้ จากนั้น ก็คือชื่อผู้แต่งตามปกติ ซึ่งเหตุผลของการทำแบบนี้ คือประโยชน์ต่อผู้ใช้โปรแกรมและผู้ใช้บริการ ที่จะได้รับไล่เรียงดังนี้ครับ

  • ผู้ใช้โปรแกรม จะไม่ต้องคีย์ชื่อผู้แต่งคนเดิม ซ้ำๆ ให้เสียเวลา อยู่ร่ำไป แต่ของโปรแกรม เมื่อคีย์ไปไม่กี่ตัวอักษรจะโชว์ชื่อผู้แต่งให้เห็น หากไม่มีก็คีย์ ชื่อ นามสกุล ให้จบแล้วกด Enter (หากต้องการใส่เลขประจำตัวผู้แต่ง ก็กรอกเลขแล้วกด Enter อีกที หากไม่ใส่ก็กด Enter อีกทีได้เลย) ครั้งต่อไป ก็มีให้ใช้ได้ทันที
  • การคีย์ทุกครั้ง อาจเกิดข้อผิดพลาด เช่นคือชื่อ สุรีย์รัตน์ บ้าง สุรีรัตน์ บ้าง สุรีรักษ์ บ้าง ทั้งๆ ที่เป็นคนเดียวกัน
  • เมื่อคีย์ผิด ผู้ใช้บริการ ก็จะหาหนังสือที่ผู้แต่งท่านนั้นแต่งไม่เจอ (ผู้แต่งเป็นแหล่งค้นสำคัญ ที่ผู้ใช้บริการนิยมใช้รองจากชื่อเรื่องและหัวเรื่อง)
  • การใช้วิธีของโปรแกรม ไม่ได้บอกว่า จะไม่มีความผิดพลาด 100% ผู้รับผิดชอบอาจไม่ผิดพลาด แต่ผู้ช่วยอาจทำผิดพลาดได้
  • แต่เมื่อผิดพลาด โปรแกรมมีเครื่องมือในการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ให้ถูกต้องโดยไม่ต้องเข้าไปเปิดข้อมูลหนังสือเพื่อแก้ไขทีละเล่ม ๆ ซึ่งวิธีการนี้ จะทำไม่ได้กับโปรแกรมที่ต้องคีย์ชื่อผู้แต่งทุกครั้ง
  • ด้วยวิธีการลงทะเบียนผู้แต่งแบบนี้ ทำให้สามารถลงทะเบียนชื่อผู้แต่งได้ไม่จำกัด และทุกชื่อที่ลงไป จะสามารถถูกใช้เพื่อการสืบค้นได้
  • และอย่างที่เห็น เราสามารถใส่เลขประจำตัวผู้แต่ง พ่วงไปกับชื่อผู้แต่ง เพื่อให้โปรแกรมสร้างเลขผู้แต่งให้อัตโนมัติได้

ข้อมูลเพิ่มเติมคือ ไม่เฉพาะผู้แต่งเท่านั้น ที่ใช้วิธีลงทะเบียนแบบนี้ หัวเรื่อง คำสำคัญ และสำนักพิมพ์ ซึ่งมักใช้ซ้ำๆ ก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้ด้วยครับ

ประมาณนี้ครับ