ระบบงานยืมคืน – แค่คิดก็มันส์แล้ว!!

ระบบงานยืมคืน – จริงๆ จะเขียนเรื่องนี้ไว้ เมื่อตอนอธิบายถึงระบบต่างๆ ของโปรแกรม เพื่อยกตัวอย่าง ขั้นตอนการใช้งานหน้าจอนี้ ซึ่งเป็นหน้าจอที่บรรณารักษ์ใช้บ่อยที่สุด ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพถึงความใส่ใจ ความตั้งใจในการพัฒนาโปรแกรม ให้ง่าย ยืดหยุ่น เป็นมิตรกับผู้ใช้ แต่เนื่องจากเนื้อหาจะยาวเกินหน้าเกินตาระบบอื่น จึงแยกออกมาเป็นบทความต่างหาก เนื้อความมีดังนี้

เมื่อมีผู้ต้องการยืมหรือคืน บรรณารักษ์เปิดหน้าจอยืมคืน โปรแกรมจะเปลี่ยนโหมดภาษาของเครื่องเป็นภาษาอังกฤษโดยอัตโนมัติ เพื่อรองรับการสแกนบาร์โค้ดได้ทันที (หากอยู่ในโหมดภาษาไทย เมื่อสแกนบาร์โค้ด จะสแดงอักขระแปลกๆ ใช้ไม่ได้ ต้องลบ แล้วกดคีย์สลับภาษา แล้วสแกนบาร์โค้ดใหม่) จึงไม่ต้องสนใจหรือกังวลว่า ก่อนเปิดหน้าจอยืมคืนInput ภาษาของเครื่องเป็นไทยหรืออังกฤษ

คำว่าสแกนได้ทันที เมื่อเปิดหน้าจอ มีความหมายตามนั้นจริงในอีกด้าน คือเมื่อเปิดหน้าจอ จะไม่ต้องจับเม้าส์ เพื่อไปคลิ๊กที่ช่องใดๆ ก่อน ไม่ว่าสิ่งที่กำลังจะสแกน เป็นบาร์โค้ดบนบัตรสมาชิก หรือหนังสือ

ถึงตรงนี้ ลองจินตนาการตามนี้นะครับ

สมาชิกคนที่ 1 มาขอยืมหนังสือ สแกนบัตรสมาชิก แล้วสแกนหนังสือที่ต้องการยืมทั้งหมด (ถ้ายืมไม่ได้เช่นหมดอายุสมาชิกไปแล้ว เป็นแบล็กลิสต์ ยืมเกินโควต้า ฯลฯ โปรแกรมจะแจ้งให้ทราบ เพื่อให้ตัดสินใจว่าจะให้ยืมหรือไม่)

สมาชิกคนที่ 2 มาคืนหนังสือ สแกนหนังสือที่ต้องการคืนทั้งหมด

สมาชิกคนที่ 3 มาคืนหนังสือ สแกนหนังสือที่ต้องการคืนทั้งหมด

สมาชิกคนที่ 4 มาขอยืม สแกนบัตรสมาชิก แล้วสแกนหนังสือที่ต้องการยืมทั้งหมด

สมาชิกคนที่ 5 มาคืนหนังสือ สแกนหนังสือที่ต้องการคืนทั้งหมด และต้องการยืมด้วย ก็สแกนหนังสือที่ต้องการยืมได้ทันที

สมาชิกคนที่ 6 มาขอยืม สแกนบัตรสมาชิก แล้วสแกนหนังสือที่ต้องการยืมทั้งหมด

สมาชิกคนที่ 7 มาคืนหนังสือ ก็สแกนหนังสือที่ต้องการคืนทั้งหมด และโปรแกรมพบว่า คืนเกินกำหนด จึงคำนวณและแสดงค่าปรับ สมาชิกจ่ายค่าปรับ บรรณารักษ์ คีย์ตัวเลขค่าปรับ แล้วกด Enter หากจ่ายไม่ครบ โปรแกรมจะเก็บรายการที่ยังคงค้างไว้ และแสดงเมื่อสมาชิกมาทำรายการในคราวต่อไป

สมาชิกคนที่ 8 มาคืนหนังสือ ก็สแกนหนังสือที่ต้องการคืนทั้งหมด

สมาชิกคนที่ 9 มาขอยืมหนังสือ สแกนบัตรสมาชิก แล้วสแกนหนังสือที่ต้องการยืมทั้งหมด

.

.

.

อ่านกันเพลินๆ ถึงตรงนี้ บางท่านอาจคิดว่า คงอธิบายขั้นตอนการทำงานแบบคร่าวๆ จริงๆ แล้วไม่ใช่ครับ เป็นการอธิบายขั้นตอนการทำงานแบบละเอียดแล้วครับ คือในการยืมคืนปกติ ถ้าไม่มีรายการค่าปรับ บรรณารักษ์ ถือเครื่องสแกนบาร์โค้ดทำการยืมคืนสมาชิกทั้งหมดได้ โดยไม่ต้องวางเพื่อไปหยิบเม้าส์มาคลิ๊กที่ช่องใดๆ และแม้จะมีรายการค่าปรับ เมื่อสมาชิกต้องการจ่ายค่าปรับ ก็สามารถใช้นิ้ว จิ้มคีย์ตัวเลขค่าปรับที่คีย์บอร์ดได้ทันที (โดยถ้าไม่อยากวางเครื่องสแกน ก็ไม่ต้องวางก็ได้) และถ้าสังเกตอีกนิดจะพบว่า ไม่มีการพูดถึงการกดปุ่มบันทึกข้อมูล หรือ Save เลย เพราะโปรแกรม Save ให้อัตโนมัติครับ

อ้าว! แล้วเวลาสแกนโปรแกรมจะไม่งงหรือว่า อันไหนคือคน อันไหนคือหนังสือ อันไหนคือยืม อันไหนคือคืน อันไหนคือค่าปรับ คำตอบคือ ไม่งงครับ

อ้าว! แล้วคนทำจะงงไหม เวลายืม เวลาคืน ต้องทำอย่างไร คำตอบคือ ทำตามธรรมชาติครับคือ เวลาจะยืม ให้ระบุก่อนว่าคนจะยืมเป็นใคร ก่อนจะสแกนหนังสือ จบครับ

อ้าว! แล้ว เวลาคืนหล่ะ ต้องทำอย่างไร คำตอบคือ ก็สแกนหนังสือที่ต้องการคืนไปเลยครับ สรุปคือ ถ้าจะยืม ก็สแกนบัตรสมาชิกก่อนแล้วสแกนหนังสือ ถ้าจะคืน สแกนหนังสือได้เลย

อ้าว! แล้ว ถ้าเกิดก่อนที่สมาชิกจะคืน หน้าจอค้างอยู่ที่สมาชิกคนอื่นอยู่ โปรแกรมจะไม่ไปคิดว่า สมาชิกรายเดิมกำลังจะยืมหนังสือหรือ คำตอบคือ อันนี้ถามซ้ำครับ เพราะตอบไปที่ อ้าว! แรก แล้วครับ

ขอยกอีกตัวอย่าง เพื่อย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจ ความเอาใจใส่ ในการพัฒนาโปรแกรมนะครับ เป็นเรื่องการระบุตัวสมาชิกที่ต้องการยืม ซึ่งโดยปกติ วิธีที่ง่ายประหยัด และนิยมมากที่สุดคือ การใช้บัตรพนักงาน บัตรนักเรียน หรือบัตรสมาชิก ที่ใช้รหัสทำเป็นแท่งบาร์โค้ด สำหรับใช้สแกนยืมคืน แต่สำหรับโปรแกรม Digital Librarian มีช่องทางอื่นในการระบุตัวสมาชิกเช่น การคีย์รหัสสมาชิก, การคีย์ส่วนหนึ่งของชื่อสมาชิก และใช้เม้าส์คลิ๊กเลือกสมาชิกจากรายการที่โปรแกรมแสดง, การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด RFID กับเครื่องอ่านบัตร, ใช้การสแกนลายนิ้วมือ กับเครื่องสแกนลายนิ้วมือ เป็นต้น

ที่สำคัญ ขอย้ำว่า ไม่ว่า จะระบุตัวสมาชิกด้วยวิธีใดๆ เมื่อการระบุตัวเสร็จสิ้น บรรณารักษ์สามารถสแกนหนังสือที่ต้องการยืมได้ทันที โดยไม่ต้องจับเม้าส์ไปคลิ๊กที่ช่องใดๆ

หมายเหตุ : ภายใต้หน้าจอที่ดูไม่มีอะไร โปรแกรมได้ซ่อนและรับเหมาความยุ่งยากของงานยืมคืน และขั้นตอนการทำงานที่เกี่ยวข้องมาจัดการเองทั้งหมด นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเรื่องอื่น อาทิ การตรวจสอบสิทธิการยืมตามประเภทสมาชิกและประเภทวัสดุที่จะยืม, การแสดงภาพสมาชิกเพื่อตรวจสอบ, การแสดงภาพปกหนังสือที่จะยืมหรือจะคืน เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนบาร์โค้ด, การกำหนดวันคืนอัตโนมัติ, การเลื่อนกำหนดส่งเป็นวันทำการถัดไปหากกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ, กานรร่นกำหนดส่งเป็นวันทำการก่อนหน้าหากกำหนดส่งเป็นวันปิดเทอม(เพื่อไปให้กำหนดคืนข้ามไปเป็นปีการศึกษาถัดไป), การแก้กำหนดวันคืนเป็นกรณีพิเศษ, การลดค่าปรับ, การยกเว้นไม่จ่ายค่าปรับ, การคำนวณค่าปรับคงค้างกรณีจ่ายค่าปรับไม่เต็มจำนวน, การคำนวณเงินทอน, การพิมพ์ใบรายการยืม, การพิมพ์ใบเสร็จพร้อมสำเนา, การรับแจ้งทำหนังสือหาย การตรวจสอบและแจ้งคิวจองถัดไป ฯลฯ

ระบบนี้ แค่คิด(ตอนพัฒนาโปรแกรม) ก็มันส์แล้ว!!

หมายเหตุอีกที : เผื่อบางท่านเห็นปุ่ม บันทึกข้อมูล แล้วสงสัยว่า ไหนบอกว่า Save ข้อมูลอัตโนมัติ จะมีปุ่มทำไม คำตอบคือ ในกรณีปกติ จะไม่ได้ใช้เลย แต่หากมีการแก้ไขข้อมูลเช่นกำหนดส่งคืน ตัวเลขค่าปรับที่ต้องการลด หรือยกเลิกไม่ปรับ จำเป็นต้องกดปุ่ม Save เพื่อให้โปรแกรมรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงครับ ย้ำครับว่าปกติแทบจะไม่ได้แตะปุ่มนี้เลย เช่นเดียวกับปุ่ม ประวัติยืม หรือพิมพ์ใบยืม หรือพิมพ์ใบเสร็จ แต่ต้องมีไว้เผื่อบางห้องสมุดต้องการใช้ครับ

สวัสดีครับ.