โปรแกรมห้องสมุด Digital Librarian

ปรัชญาการออกแบบโปรแกรมห้องสมุด

โปรแกรมห้องสมุด Digital Librarian เกิดขึ้นจากแนวคิดที่สมมติให้ผู้ออกแบบระบบ เป็นผู้ที่ต้องใช้โปรแกรมเองทุกวันๆ เพื่อให้เข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึก รู้ลึกถึงปัญหา และความต้องการของบรรณารักษ์ เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมที่ไม่เพียงแค่ดีกว่า แต่ต้องทำให้ผู้ใช้รู้สึกดี ที่ได้เลือกและได้ใช้

ด้วยแนวคิดนี้ ทำให้ในที่สุด Digital Librarian จึงเป็นโปรแกรมห้องสมุด ที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าว่า ใช้งานง่ายที่สุด มีขั้นตอนการทำงานที่น้อย เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน และพึงพอใจกับเครื่องไม้เครื่องมือ ที่โปรแกรมจัดเตรียมไว้ให้ ทั้งเพื่อช่วยป้องกันปัญหา แก้ไขปัญหา และช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ชนิดที่หาไม่ได้จากโปรแกรมทั่วๆ ไป

ในด้านบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ลูกค้าเริ่มสอบถามมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สอบถามได้ความว่า เพราะถูกเท ในส่วนของบริษัท จะแนะนำให้สอบถามจากลูกค้าของบริษัทแต่ละที่ที่สนใจโดยตรง และบอกได้เพียงแค่ว่า กว่า 90% ของลูกค้าของบริษัท ไม่ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือใดๆ เข้ามาเลยนานนับหลายๆ ปี โดยให้ตัดประเด็น ติดต่อบริษัทไม่ได้ออกไปได้เลย เพราะบริษัท ใส่ชื่อเว็บไซต์ ไว้ในโปรแกรม ตั้งแต่เริ่มปล่อยโปรแกรมออกสู่ตลาดแล้ว

ส่วนไม่ถึง 10% ที่ติดต่อเข้ามา ส่วนใหญ่จะขอคำแนะนำเรื่องการย้ายข้อมูล เพราะจะเปลี่ยนเครื่อง Server เนื่องจากเครื่องเดิมเก่าเกินไป หรือเพราะเครื่องติดไวรัส มีบ้างที่มีปัญหาใช้งานโปรแกรมไม่ได้ หลังจากองค์กรเปลี่ยนแปลงระบบเครือข่ายภายใน เป็นต้น

เปอร์เซ็นต์ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงสิ่งสำคัญประการหนึ่งของโปรแกรมคือ ความเสถียร ลูกค้าจะต้องไม่เจอปัญหาจุกจิก ปัญหาที่พบและไม่ได้รับการแก้ไข ลูกค้าจะได้รับการเน้นย้ำว่า หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยใดๆ ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่(ในความคิดของลูกค้า) ให้ติดต่อเข้ามาได้ทันที

โปรแกรมห้องสมุด Digital Librarian on Cloud แก้ปัญหาเรื่องราคา

ในด้านราคา แม้ว่า Digital Librarian จะมีราคาค่อนต่ำ แต่ยังถือว่าสูงสำหรับบางองค์กรที่มีงบประมาณจำกัดอยู่ดี บริษัทจึงได้นำเสนอโซลูชั่นใหม่คือ Digital Librarian on Cloud ซึ่งเป็นการจ่ายค่าใช้งานโปรแกรมในลักษณะจ่ายค่าสมาชิก เป็นงวดๆ เช่นเดียวกับการจ่ายค่าบริการอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ แทนการซื้อขาด ข้อดีและข้อควรพิจารณาของ Digital Librarain on Cloud รวมถึงราคา ท่านสามารถศึกษาได้โดยคลิ๊กที่นี่

สวัสดีครับ.


Some of our clients:

ตัวอย่างฟีเจอร์โดนๆ – โปรแกรมห้องสมุด Digital Librarian

Cataloging ลงทะเบียน เพิ่ม ลบ แก้ไข จัดการสำเนา ใส่ภาพปก ทุกอย่างครบ จบในหน้าเดียว

แนวคิดคือ ต้องช่วยให้การกรอกข้อมูล ทำได้ถูกต้องมากที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด ต้องให้ใช้งานง่ายที่สุด

โปรแกรมจะช่วยงานอะไรได้ ต้องทำออกมาให้ได้ เติมข้อมูล เลขทะเบียน วันลงทะเบียน ฉบับที่ ฉ. หรือ c. เล่มที่ ล. หรือ v. จำนวนหน้า หน้า หรือ p. ตามภาษาของหนังสือ ใส่ชื่อผู้แต่ง หัวเรื่อง ไม่จำกัด ถ้ามีซ้ำของเดิม ต้องดึงมาใช้ได้ ไม่ต้องคีย์ใหมท ถ้าไม่พบคีย์ให้จบแล้วเรียกมาใช้ได้ทันที

Easiest Circulation – ช่วยให้การให้บริการยืมคืนกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ภายใต้หน้าจอดูแสนจะธรรมดา

ความยุ่งยาก ซับซ้อนในเงื่อนไขการยืมคืนทั้งหมด ถูกซ่อนอยู่ภายใต้หน้าตาที่แสนจะธรรมดาๆ และที่ดียิ่งกว่า คือการใช้งาน ที่ง่ายจนคาดไม่ถึง ไม่ต้องคลิ๊กที่โน่น ที่นี่ ที่นั่น สลับเครื่องไม้เครื่องมือไปมาให้วุ่นวาย

พัฒนาระบบภายใต้ความคิดว่า เป็นระบบที่ต้องใช้ทุกวัน และเป็นระบบเดียวที่สมาชิกมาขอรับบริการโดยตรง จึงต้องออกแบบให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ถูกต้องรวดเร็ว ไม่ให้มีใครต้องรอ

Web OPAC – คลิ๊กดูรายละเอียดหนังสือ ที่หน้าแสดงรายการที่พบได้ทันที ไม่ต้องกด Back ไปมาเพื่อดูรายการอื่นให้วุ่นวาย

สมาชิกพบทุกคำตอบที่ต้องการด้วยตัวเองผ่านเว็บ บราวเซอร์ เช่น Chrome Firefox ฯลฯ ค้นและเลือกพิมพ์รายชื่อหนังสือที่ต้องการ

ดูรายการหนังสือใหม่ แบบเลือกช่วงเวลาได้ เพราะนิยามคำว่าใหม่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดูรายชื่อหนังสือยอดนิยมหนังสือแนะนำ ดูสถานะการยืม ทำรายการยืมต่อ ดูประวัติการยืม ฯลฯ

หมดปัญหาพิมพ์ Label Sticker สันปก บาร์โค้ด ไม่ตรงกรอบ เมื่อเปลี่ยนเครื่องพิมพ์หรือยี่ห้อ Label

ซื้อเครื่องพิมพ์ใหม่ พิมพ์ลาเบล ไม่ตรงกรอบ ลอกออกมาใช้ไม่ได้ แก้ไขเองก็ได้ ไม่ต้องง้อ ไม่ต้องรอช่าง พิมพ์เป็นชุด สันปก บาร์โค้ดทะเบียน พิมพ์ไม่หมดครั้งหน้าใช้ต่อได้

เลือกพิมพ์เป็นช่วงเลขทะเบียน พิมพ์ข้ามเลขได้ พิมพ์เพื่อซ่อมเฉพาะส่วนที่ชำรุด ปรับเปลี่ยนขนาดตัวอักษร เปลี่ยนสีตัวอักษร พิมพ์แถบสีบนส่วนสันปกตามหมวดหมู่ ฯลฯ

Import ข้อมูลหนังสือที่พบจากทั่วโลก ผ่านมาตรฐาน Marc21

ประโยชน์ของระบบ Import Marc คือการค้นและ Import ข้อมูลหนังสือ โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลเอง แต่เนื่องจากห้องสมุดที่มีเปิดให้ Export ข้อมูลในประเทศส่วนใหญ่ จะอยู่ในแวดวงมหาวิทยาลัย โอกาสซ้ำกันของหนังสือกับห้องสมุดทั่วไปมีไม่มาก จึงดูไม่เกิดประโยชน์

แต่สำหรับห้องสมุดที่ซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศ เช่นโรงเรียนนานาชาติ ห้องสมุดโรงพยาบาล จะได้ประโยชน์ เพราะการใช้ Marc21 ในต่างประเทศแพร่หลายกว่า

ค้นหาและดาวน์โหลดข้อมูลหนังสือ ผ่านโปรโตคอล Z39.50 และ Marc21

ใช้สำหรับการค้นหาหนังสือโดยใช้เลข ISBN หรือชื่อเรื่อง ผ่าน Protocal Z39.50 ตรงไปยัง Server ต่างๆ โดยไม่ต้องค้นหาทีละห้องสมุด

เมื่อพบโปรแกรมก็จะดาวน์โหลดข้อมูลผ่านมาตรฐาน Marc21 มายังฐานข้อมูลชั่วคราว เพื่อให้ผู้ใช้เลือกนำเข้าฐานข้อมูลห้องสมุดได้โดยตรง แต่เพราะ Z39.50 ในไทยยังจำกัดอยู่ในวงจำกัด จึงปรับมาใช้สำหรับดาวน์โหลดข้อมูลหนังสือจากฐานข้อมูลบริษัท


ระบบที่จะช่วยยกระดับการให้บริการ – โปรแกรมห้องสมุด Digital Librarian

ระบบสแกนลายนิ้วมือ – เปลี่ยนความยุ่งยากให้เป็นเรื่องง่ายๆ ด้วยปลายนิ้ว

หมดปัญหาสมาชิกลืมบัตร ลืมรหัสสมาชิก เพียงสแกนเก็บลายนิ้วมือที่หน้าลงทะเบียนด้วยขั้นตอนง่ายๆ สมาชิกก็สามารถใช้ลายนิ้วมือแสดงตัวเพื่อทำรายการยืมได้แล้ว

รวมถีงการสแกนก่อนเข้าห้องสมุด เพื่อเก็บสถิติการเข้าใช้บริการ ที่สำคัญเครื่องรุ่น ZK4500 ที่แนะนำ สามารถหาซื้อได้ตามร้านออนไลน์ทั่วไป เช่น Shopee Lazada ราคาเครื่องละไม่ถึง 2,000 บาทก็มี

Digital Librarian on Cloud ปลดล็อคทุกข้อจำกัด และทำให้ Digital Librarian ไม่ใช่โปรแกรมที่ราคาสูงเกินเอื้อมสำหรับห้องสมุดทั่วไปอีกต่อไป

ย้ายทุกอย่างที่ต้องอยู่บนเครื่อง Server ไปไว้บนระบบ Cloud ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่อง ดูแลเครื่อง หรือเปลี่ยนเครื่องเมื่อสิ้นอายุขัย

สมาชิกสืบค้น ดูชื่อหนังสือใหม่ Tophit เช็คค้างส่ง ยืมต่อ ฯลฯ ได้แบบทุกที่ทุกเวลาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ราคาถูกกว่า แต่ข้อติดขัดสำหรับบางองค์กรคือ การต้องจ่ายเป็นรายปี ลองพิจารณาหาทางออกสำหรับทางเลือกนี้ที่เมนู ราคา

รองรับการยืมคืนด้วยตัวเอง ผ่าน RFID พัฒนาตามมาตรฐาน Sip2 ทำให้ห้องสมุดไม่ต้องถูกผูกติดกับอุปกรณ์ยี่ห้อใดๆ ของบริษัทใดๆ

RFID เป็นเทคโนโลยีที่ถูกคาดหมายว่าจะนำมาใช้แทน Barcode ในการทำรายการยืม คืน และเช็คสต็อค ฯลฯ การนำมาใช้งานหลักๆ คือการให้สมาชิกสามารถยืมคืนด้วยตัวเองผ่านตู้ Kios เหมือนตู้ ATM ร่วมกันประตูกันขโมย

แต่ด้วยราคา Hardware ที่ค่อนข้างสูง การใช้งานจึงยังจำกัดอยู่กับห้องสมุดที่มีงบประมาณสูง มีปริมาณการยืมคืนมาก เช่นห้องสมุดในมหาวิทยาลัย

Librarian Services on Smartphone – สมาชิกพบทุกคำตอบที่ต้องการ ผ่าน Smartphone พร้อมฟังก์ชั่นเช็คสิทธิ์การยืม และยืมได้ด้วยตัวเอง

เช่นเดียวกับระบบสืบค้นผ่านเว็บ บราวเซอร์ สมาชิกสามารถหาคำตอบที่ต้องการ ได้แบบทุกที่ทุกเวลา ผ่านเครื่องโทรศัพท์ Smartphone หรือ Tablet (ทั้ง Android และ IOS) แต่พิเศษยิ่งกว่าคือ สมาชิกเช็คสิทธิ์ยืม และสามารถทำการยืมต่อได้ด้วยตัวเอง

ระบบนี้ใช้ได้กับห้องสมุดที่สามารถให้บริการสืบค้นผ่าน Internet และ/หรือห้องสมุดที่มีเครือข่าย Wi-Fi เท่านั้น

Mobility Circultation – ยืมคืนได้ทุกที่ผ่าน Smartphone ชีวิตไม่ต้องติดเคาน์เตอร์ พร้อมฟังก์ชั่นถ่ายรูปทำบัตรสมาชิก

ยืมคืนผ่าน smartphone ความคิดเริ่มต้นคือ Smartphone มีฟังก์ชั่นที่น่าจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานห้องสมุดมากกว่า โดยเฉพาะกล้องที่ใช้สแกนบาร์โค้ดได้

การทำระบบยืมคืนด้วย Smartphone ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับเครื่องคอมพ์ และเครื่องบาร์โค้ด ให้บริการยืมคืนที่ตรงไหนของห้องสมุดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะที่เคาน์เตอร์ รวมถึงนำมาใช้ในการถ่ายรูปทำบัตรสมาชิกด้วย

Line notification – ให้บริการเชิงรุก แจ้งเตือนสมาชิกก่อนถึงกำหนดส่งคืน แจ้งรายชื่อหนังสือใหม่ ฯลฯ ผ่าน Application Line ที่ใครๆ ก็ใช้กัน

Application Line เป็นช่องทางการสื่อสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทุกเพศ ทุกวัย Digital Librarian นำระบบแจ้งเตือนผ่าน Line มาใช้ประโยชน์ เพื่อการให้บริการเชิงรุก

เปิดโอกาสให้ห้องสมุดสามารถส่งข้อมูลข่าวสารไปยังสมาชิกที่สมัครใช้บริการทั้งแบบส่วนตัวและแบบกลุ่ม เช่น แจ้งเตือนให้ส่งหนังสือก่อนถึงกำหนด 1 วัน การแจ้งรายชื่อหนังสือใหม่ การแจ้งเตือนหนังสือเกินกำหนดส่ง ฯลฯ